วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

จงเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศให้ทั้ง 2 ธุรกิจ

ฟูจิเล็งขายแฟรนไชส์ลุยตปท.ทุ่ม 400 ล.ผุดบูติกโฮเต็ลขยายฐาน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 สิงหาคม 2553 22:16 น.



ขอ้เสนอแนะในการทำตลาด


1."ฟูจิ"จะมีการขยายตลาดไปยังธุรกิจโรงแรมในระดับ  b+ ซึ่งถ้าฟูจิจะทำแบบนั้นต้องเป็นโรงแรมขนาดใหญ่ซึ่งจะเจาะได้ตรงกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้  


2.เมื่อ "ฟูจิ" ต้องการจะจับกลุ่มลูกค้าระดับ  b+  คือเป็นลูกค้าระดับบน  คือมีความต้องการใช้บริการของร้านฟูจินั่นเป็นพิเศษ ฟูจิอาจต้องปรับรสชาติ รวมถึงวัตถุดิบที่ให้ต้องคุณภาพดีและได้มาตรฐาน  และลักษณะให้มีเอกลักษณ์ซึ่ง ฟูจิ  เองแสดงตัวตนอยู่แล้วว่าเป็นอาหารญี่ปุ่น  ดังนั้นควรที่จะออกแบบห้องอาหารหรือแม้แต่การบริการในสไตล์ญี่ปุ่นแต่ก็ต้องเข้ากับลักษณะการใช้ชีวิตและของประเทศนั้นๆด้วย


3.การที่ ฟูจิ จะเจาะกลุ่มลูกค้าระดับบน  ทางฟูจิ  อาจจะต้องเพิ่มความแปลกใหม่ในการให้บริการ  หรือแม้แต่ความสะดวกสะบายในการใช้บริการ  เทคโนโลยีต้องทันสมัย  แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องคำนึงถึงวิถีชีวิตของคนชาตินั้นๆด้วย


4.หลีกเหลี่ยงบริเวณที่มีการบริการประเภทเดี่ยวกัน  เพราะจะทำให้การทำตลาดของ ทาง  ฟูจิ  อาจโตได้ไม่ต็มที่


5.ต้องมีการประชาสัมพันธ์หรือการโฆษณาให้ทราบล่วงหน้าในการที่ ฟูจิ จะมาเปิดบีิการสาขาใหม่  เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้า  


เอ็มเค” ฉลองครบ 300 สาขา ย้ำความสำเร็จนวัตกรรมบริการ
โดย นิตยสาร BrandAge 10 กันยายน 2552

ข้อเสนอแนะในการทำตลาด

1.ต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการกินของชาตินั้นๆ


2.ใช้การประชาสัมพันธ์หรืvมีการทำโฆษณาในต่างประเทศเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับลูกค้า โดยเฉพาะประเทศในเเถบเอเชีย   ซึ่ง  MK มีจุุดขายที่การเป็นอาหารสำหรับครอบครัว mk ก็ต้องแสดงจุดแข็งนี้ออกมา ซึ่งเหมาะกับวิถีชีวิตของคนเอเซียเรา 

3.การนำวัตถุดิบของประเทศที่ลงทุน มาพัฒนาดัดเเปลงให้เข้ากับวถีชีวิตของชนชาตินั้นๆและ เพื่อเป็นการลดการนำเข้าสินค้าเเละวัตถุดิบจากในประเทศ

4.หลีกเหลี่ยงบริเวณที่มีการบริการประเภทเดี่ยวกัน  เพราะจะทำให้การทำตลาดของทาง  MK  อาจโตได้ไม่ต็ม

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขนมอินเดีย










INDIAN SWEETS
ความรู้สึกหลังจากได้ทานขนมอินเดีย  ขนมของอินเดียจะมีรสชาติหวาน  ขนมหลายชนิดจะมีส่วนผสมของนมเป็นหลัก   ขนมของอินเดียบางชนิดก็เหมาะกับคนไทยที่สามารถทานได้  บางชนิดก็ไม่เหมาะเลยเพราะมีกลิ่นเฉพาะตัวมาก  เวลาก่อนทานจะมีกลิ่นนม  แต่พอทานเข้าไป  กลิ่นส่วนประกอบของเขาก็จะออกมา  อาจทำให้คนไม่เคยทานมาก่อนอ้วกได้ค่ะ







เวลาเราทานเขาไปแล้วรู้สึกไม่อร่อยไม่ใช่อาหารของเขาไม่อร่อยแต่เพราะว่าเราไม่ชินกับรสชาติของอาหารชนิดนั้นๆนั่นเอง




กอลังกา


กอลากังเนื้อขนมนุ่ม  จะมีส่วนผสมของนมเป็นหลัก  มีรสชาติเหมือนกับขนมหวานเป็นรสชาติที่คนไทยทานได้   ขอแนะนำว่าใครจะทานขนมอินเดีย   ขอให้ลองทานขนมกอลังกาเป็นชิ้นแรกค่ะ  เพราะว่าน่าจะเหมาะกับคนไทยมากที่สุด






บัฟฟี่ 

บัฟฟี่  ขนมชิ้นนี้คล้ายกับกอลากัง  เพราะมีรสชาติเหมือนนมข้นหวาน  มีส่วนผสมหลักเป็นนมเช่นกันต่างกันตรงที่ว่ามีช็อกโกแล็ตผสมอยู่ด้วย  และบัฟฟี่  ก็จะแข็งกว่า กอลากัง



ปิ่นนี

ปิ่นนีมีส่วนผสมหลักเป็นถั่ว  ผัก  เมล็ดมะม่วงหิมพานต์มีกลิ่นนมปนถั่วแต่ถ้าคนที่จะทานก็ทานได้  แต่ว่าจะมีกลิ่นของเครื่องเทศด้วย  เราจะได้รับรสชาติของถั่วนมข้นแล้วก็เครื่องเทศไปพร้อมๆกัน




โดราบัฟฟี่

โดราบัฟฟี่จะนุ่ม  มีกลิ่นนม  ใส่หญ้าใบฝรั่งลงไปด้วยมีรสชาติเผ็ดเหมือนมีเครื่องแกงผสมอยู่ด้วย  ไม่ค่อยเหมาะกับปากคนไทย  เพราะมีกินเครื่องเทศ เผ็ด  ซึ่งเป็นแบบเฉพาะของคนอินเดียเอง ขอแนะนำคนที่เริ่มทาน  อย่าลองชิ้นนี้เป็นชิ้นแรก  เพราะมีกลิ่นแรงมากเมื่อเราทานเข้าไปแล้ว  








 แต่อย่างไรก็ขอบอก ณ ที่นี้ว่า  นี่เป็นเพียงความรู้สึกส่วนบุคคล    อาหารของทุกชนชาติ  ก็      เหมาะกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของแต่ละชนชาติศาสนา   






วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

swot ของยางพารา

จุดแข็ง

1.ไทยส่งออกสินค้าประเภทยางและยางพาราเป็นอันดับ1ของโลก

2.ยางพาราของไทยมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของทั่วโลกเพราะไทยเราผลิตน้ำยางธรรมชาติได้มาตรฐาน

3.มีการส่งเสริมและทำวิจัยด้านการพัฒนายางไทยสู่ตลาดโลกอยู่ตลอดเวลา

4.รัฐบาลไทยมีการผลักดันด้านการแปรรูปมากขึ้น และผลักดันให้เกิดความเชื่อมั่นในตลาดโลกหากจะผลิตเป็นล้อรถยนต์  ถุงมือยาง  ถุงยางอนามัย  จะต้องผลิตจากยางพาราชนิดไหนของไทย  พันธุ์ใดมีคุณภาพเหมาะสมกับที่จะผลิตเป็นผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด

5.ไทยเรามีวัตถุดิบยางพารามากพอสำหรับผลิตและแปรรูปภายในประเทศและต่างประเทศ

6.ราคาสิ้นคาสินค้าอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง


จุดอ่อน


มาตรฐานการผลิตยางพาราอยู่ในเกณฑ์ต่ำ


โอกาส


1.ปริมาณความต้องการของน้ำยางพาราธรรมชาติ  และผลผลิตจากการแปรรูปยางแต่ละปีมีปรมาณเพิ่มขึ้นทำให้เรามีช่องทางในการสร้างตลาดได้มากขึ้น

2.รัฐบาลมีการส่งเสริมธุรกิจยางพาราขนาดกลางและขนาดย่อมมากขึ้น  ทำให้เป็นโอกาสในการที่จะขยายการผลิตและแปรรูปยางเพื่อการส่งออกยางได้มากขึ้น

อุปสรรค


1.ปี 2553 ไทยเราประสบปัญหาภัยแล้ง  อุทกภัยและมรสุมทำให้พื้นที่ปลูกยางหลายจังหวัดประสบปัญหาทำให้ได้น้ำยางไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร


2.ทางประเทศไทยประสบปัญหาทางบ้านเมืองทำให้กระทบไปยังภาคธุรกิจทุกชนิดไม่เว้นแม้กระทั่งธุรกิจประเภทยางพารา


3.การผลิตยางพารา  ซึ่งสามารถปลูกได้ในหลายประเทศ ทำให้มีแนวโน้มว่าจีน ลาว เวียดนาม และกัมพูชาจะขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น  อันจะเป็นคู่แข่งกับไทยในอนาคต


4.ความไม่มั่นคงทางด้านการเมือง  ทำให้นโยบายการส่งเสริมด้นการส่งออกยางพาราไม่ต่อเนื่อง








วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินค้าส่งออกยาง

ราคาประมูล ตลาดกลางยางพาราสงขลา
 ยางแผ่นดิบ
119.20
 1.10
 ยางแผ่นรมควันชั้น3
124.30
 1.17
 น้ำยางสด
120.00
 2.00


 ราคายางแผ่นดิบและยางแผ่นรมควันตลาดกลางยางพาราสงขลาปรับตัวสูงขึ้น ยางแผ่นดิบแตะระดับ 119.20 บาท/กก. ปรับตัวสูงขึ้น 1.10 บาท/กก. และยางแผ่นรมควันแตะระดับ 124.30 บาท/กก. ปรับตัวสูงขึ้น 1.17 บาท/กก. เป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียวที่ปรับตัวสูงขึ้นตามการอ่อนค่าของเงินเยน และนักลงทุนคลายความกังวลในปัญหาหนี้สาธารณะของไอร์แลนด์ที่จะได้รับความ ช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป (EU.) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบสัปดาห์ นอกจากนี้ราคายางยังคงมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคใต้แหล่งปลูกยางสำคัญ ต้นยางได้รับความเสียหายจากการโค่นล้มและภาวะน้ำท่วมขัง ส่งผลให้อุปทานยางที่มีอย่างจำกัดกลับยิ่งลดน้อยลงอีก





อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง

อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อประเทศทั้งในแง่ของการจ้างงานและการส่งออก  โดยในปี 2544 ประเทศไทยสามารถส่งออกยางพาราอยู่ในอันดับที่ 3 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรของไทยมีมูลค่าการส่งออกของยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางรวมทั้งสิ้น 2,421.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแบ่งเป็นมูลค่ายางพาราร้อยละ 54.8 และผลิตภัณฑ์ยางร้อยละ 45.2

1การผลิต
ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลกหรือประมาณร้อยละ 34.5 ของผลผลิตโลกโดยในปี 2544 มีการผลิตประมาณ 2.3 ล้านตัน  ยางธรรมชาติส่วนใหญ่มีการส่งออกร้อยละ 90 และส่วนที่เหลือเป็นการจำหน่ายในประเทศ
ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมรวบรวมโดยธนาคารแห่งประเทศไทยแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวลดลงของดัชนีผลผลิตยางรถยนต์ในไตรมาสที่ 4 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยผลผลิตรายไตรมาสลดลงจาก123.66 ใน       ไตรมาสที่แล้วเป็น 116.73 โดยดัชนีผลผลิตยางรถยนต์ในเดือน ธ.. ได้ปรับตัวลดลงจากเดือนที่ผ่านมา

การขยายตัวของการผลิตยางรถยนต์ ส่วนหนึ่งมาจากนักลงทุนต่างชาติได้เข้ามาลงทุนในธุรกิจยางล้อตั้งแต่ปี 2543 เพื่อขยายฐานการผลิตในไทยตามนโยบายของกลุ่มผู้ผลิตยางล้อรายใหญ่ของโลกที่ให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า และเป็นแหล่งวัตถุดิบที่มี      ศักยภาพ

2.  การส่งออกและนำเข้า
          2.1 ตลาดส่งออก  ประเภทสินค้าที่ผลิตและส่งออกแบ่งเป็น  2 ประเภท คือ
1)   ยางแปรรูปขั้นต้น  ประกอบด้วย ยางแผ่น ยางแท่ง ยางเครพ  น้ำยางข้น โดยมีมูลค่าการส่งออกในปี 2544 จำนวน 1,325.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 13 ส่วนการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ของปี 2544 เทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2543 พบว่า มีอัตราการขยายตัวที่ลดลงร้อยละ 23.6 ในตลาดส่งออกสำคัญได้แก่  ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา และ มาเลเซีย
2) ผลิตภัณฑ์ยาง ประกอบด้วย ยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ยางรัดของ หลอดและท่อ  สายพานลำเลียงและส่งกำลัง โดยมีมูลค่าการส่งออกในปี 2544 จำนวน 1,095.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่  สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และฮ่องกง  
          2.2 ตลาดนำเข้า ประเภทผลิตภัณฑ์ยางที่นำเข้า ได้แก่  ท่อหรือข้อต่อ และ สายพานลำเลียง และ ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ โดยในปี 2544 มีมูลค่าการนำเข้าจำนวน 303 ล้านเหรียญสหรัฐ และหากเปรียบเทียบในช่วงปี 2543 ลดลงร้อยละ 4.11  ทั้งนี้ประเภทผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการขยายตัวของการนำเข้าต่อเนื่อง ได้แก่  ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง


            การส่งออกยางธรรมชาติในปี 2544 มูลค่า 1,326  ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 13 ในขณะที่ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน แสดงว่าราคายางธรรมชาติในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง  สัดส่วนมูลค่าการส่งออกยางแผ่น ยางแท่ง น้ำยางข้น คิดเป็นร้อยละ 44.2, 35.9, และ 19.8 ตามลำดับ 
            การส่งออกผลิตภัณฑ์ยางในปี 2544 มีมูลค่า 1,095 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.2 โดยผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ยางยานพาหนะ และ ถุงมือยางซึ่งคิดเป็นร้อยละ 34.9 และร้อยละ 32.0 ของมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง สำหรับตลาดส่งออก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฮ่องกง เยอรมัน และ มาเลเซีย โดยมีอัตราการส่งออกยางยานพาหนะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับปี 2543 และในไตรมาสที่ 4 ของปี 2544 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2543 มีการส่งออกยางยานพาหนะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18.2  สำหรับอัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกถุงมือยางในปี 2544 เทียบกับปี 2543 ในช่วงไตรมาสที่ 4 ลดลงร้อยละ 3.4

3.  แนวโน้มปี 2545
            ด้านการผลิตคาดว่าจะมีการผลิตเพิ่มขึ้นในส่วนของยางพารา ประมาณ 2.4 ล้านตัน เนื่องจากยางพันธุ์ดีที่ปลูกทดแทนและปลูกใหม่ทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากแรงสนับสนุนของภาครัฐให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยปลูกยางมากขึ้น ในด้านการขยายพื้นที่เพาะปลูกและปรับปรุงคุณภาพยาง มีการผลิตผลิตภัณฑ์ยางประเภทยางยานพาหนะและถุงมือยางเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในตลาดหลักซึ่งได้แก่ประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เนื่องจากการก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกาจะเป็นตัวกระตุ้นความต้องการเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีส่วนทำให้ภาคการผลิตโดยรวมไม่ชะลอตัวถึงแม้ว่าต้นทุนการผลิตจะเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับเนื้อที่ยางที่กรีดได้และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด เหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้ทิศทางการผลิตมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
            อย่างไรก็ตาม ในระหว่างวันที่ 11-12 ธันวาคม 2544 ได้มีการประชุมระดับรัฐมนตรี 3 ประเทศระหว่างผู้ผลิตยางธรรมชาติหลัก เพื่อหาข้อสรุปของโปรแกรมการปฏิบัติงานเพื่อรักษาราคายาง ซึ่ง      มาตรการจัดการด้านปริมาณการผลิตจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 โดยไทยต้องลดปริมาณการผลิตยางในปี 2545 ลง 72,036 ตัน หรือร้อยละ 3.3 โดยการเพิ่มพื้นที่ปลูกพืชชนิดอื่นแทนยาง 200,000 ไร่ และมาตรการกำหนดปริมาณการส่งออกยาง ซึ่งได้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 โดยในปี 2545 มีการกำหนดให้ไทยส่งออกยางได้ในปริมาณ 1,973 ล้านตัน ปริมาณยางที่นอกเหนือจากนี้          ผู้ส่งออกจะต้องจัดเก็บสต๊อกเพื่อเป็นการผลักดันให้ราคาสูงขึ้น  โดยรัฐจะจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (1%) ในการจัดเก็บสต๊อกและจัดหาโกดัง ซึ่งสต๊อกยางธรรมชาติดังกล่าวคาดว่าจะเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของปริมาณบริโภคทั่วโลกหรือขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจ แต่ทั้งนี้คาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ผลิตยาง เนื่องจากประเทศไทยกำลังดำเนินนโยบายไม่เพิ่มพื้นที่ปลูกยาง และรัฐมีแผนจะโค่นยางปีละ 4 แสนไร่ พร้อมทั้งส่งเสริมการปลูกพืชอื่นทดแทนและให้สงเคราะห์ยางพันธุ์ใหม่
            สำหรับราคายางภายในประเทศในช่วงไตรมาสแรกของปี 2545 คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลง ถึงแม้อุปสงค์ของยางและผลิตภัณฑ์ของโลกจะอยู่ในระดับสูง แต่ประเทศผู้ใช้ยางมีสต๊อกยางคงเหลืออยู่ในประเทศมาก ขณะนี้ภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนให้หน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจใช้ผลิตภัณฑ์ยางที่ผลิตในประเทศและให้มีการใช้ยางในประเทศเพิ่มมากขึ้น
            ในปี 2544 ยางพารามีมูลค่าการส่งออก 1,326 ล้านเหรียญสหรัฐ  ลดลงจากปี 2543 ประมาณร้อยละ 13.0 อย่างไรก็ตาม คาดว่าแนวโน้มมูลค่าการส่งออกยางพาราในปี 2545 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.1  โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกยางแท่งจะขยายตัวสูงขึ้น ประมาณร้อยละ 17.3 เนื่องจากปัจจุบันยางแท่งเป็นที่นิยมในตลาดโลกมากขึ้น  ในขณะที่มูลค่าการส่งออกยางแผ่นคาดว่าจะลดลงประมาณร้อยละ 7.1 สำหรับน้ำยางข้นคาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 9.1 เพื่อนำมาผลิตถุงมือยางเนื่องจากปัจจุบันประชากรโลกมีความห่วงใยเรื่องสุขอนามัยมากขึ้น ทำให้การใช้ถุงมือยางของโลกเพิ่มสูงขึ้น
                สำหรับผลิตภัณฑ์ยางไทยสามารถส่งออกในปี 2544 ด้วยมูลค่า 1,095 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2543 ประมาณร้อยละ 3.3 ซึ่งคาดว่าแนวโน้มการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางในปี 2545 จะสูงขึ้นร้อยละ 8.5 เนื่องจากคาดว่ามูลค่าการส่งออกยางยานพาหนะและถุงมือยางจะขยายตัวประมาณร้อยละ 5.8 และ 5.3 ตามลำดับ






ผลผลิต ความต้องการใช้ในประเทศ และส่งออกตามแผน 5 ปี (ปี 2545-2549)
รายการ
2545
2546
2547
2548
2549
ผลผลิตต่อไร่(..)
ผลผลิตยางดิบ(ล้านตัน)
ความต้องการใช้(ล้านตัน)
ส่งออก(ล้านตัน)
ส่วนเกิน(ล้านตัน)
255
2.52
0.25
2.15
0.12
257
2.46
0.30
2.00
0.16
260
2.45
0.36
2.00
0.09
265
2.42
0.43
1.99
-
265
2.40
0.52
1.88
-
ประมาณการโดยสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง

ปัญหาและอุปสรรค

·       ขาดความสามารถพื้นฐานที่จะแข่งขันได้ในระดับสากล เช่น ด้านเทคโนโลยีการผลิต การบริหาร
จัดการ การตลาด บุคลากร และการพัฒนาผลิตภัณฑ์
·       อัตราภาษีวัตถุดิบยังสูงกว่าประเทศคู่แข่ง
·       นโยบายการส่งเสริมการลงทุนไม่เอื้ออำนวยต่อผู้ประกอบการภายในประเทศ
·       ขาดอุตสาหกรรมสนับสนุนที่เข้มแข็ง เช่น การผลิตแม่พิมพ์ เครื่องจักร
·       ขาดการวิจัยและพัฒนา  คุณภาพผลิตภัณฑ์  ผลิตภัณฑ์ใหม่ และกระบวนการผลิต
·       ขาดหน่วยงานสนับสนุนทางเทคนิคที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้บริการวิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบและ       ผลิตภัณฑ์  การออกใบรับรองมาตรฐานและคุณภาพ
 

แนวทางการพัฒนา

·       รัฐบาลควรมีนโยบายในการกำหนดให้อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็น Rubber Capital City of the World โดยการนำยาง
ธรรมชาติมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
·       รัฐบาลควรผลักดันให้มีการวิจัย และ พัฒนาน้ำยาง  มาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาง  ห้องทดสอบยางล้อ และห้องปฏิบัติการถุงมือยางที่เชื่อถือได้
·       รัฐบาลควรมีการพัฒนาบุคลากรด้านยางให้มากขึ้น

 
















ที่มา:http://ethaitrade.com


       http://www.ryt9.com/s/ryt9/74229


วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่างการค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ       
           การค้าระหว่างประเทศคือ  การส่งขงประเทศหนึ่งผ่านพรทแดนไปขายยังประเทศอื่น ๆ  ที่ต้องการสิ้นค้าของประเทศนั้น เรียกการค้าในส่วนนี้ว่า  "กาารส่งออก"  อีกด้านของการค้าระหว่างประเทศก็คือการซื้อสินค้าจากระเทศอื่นๆ  ผท่านเขตแดนเข้าประเทศ  เรียกการค้าส่วนนี้ว่า"การนำเข้า"  และเรียกผลต่างระหว่าการส่งออกและการนำเข้านี้ว่า "การส่งออกสุทธิ" 

ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ

                                    ข้อมูลwww.uinthai.com/index.php?lay...ac...


การตลาดระหว่างประเทศ  

Domestic Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการทางการตลาดภายในประเทศ   ระยะนี้ ถือเป็นระยะเริ่มแรกในการทำ                   ธุรกิจ โดยธุรกิจจะเริ่มจากการทำการตลาดภายในประเทศ
         
การค้าขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม / ปิโตรเคมีExport Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการทางการตลาดโดยการส่งออกไปยังตลาดระหว่างประเทศ    ระยะนี้ เป็นระยะที่พัฒนามาจาก Domestic Marketing ซึ่งเมื่อธุรกิจได้มีการดำเนินธุรกิจในตลาดในประเทศไปได้ระยะหนึ่งแล้ว อาจจะพบว่า ตลาดที่ทำอยู่ มีความแคบลง หรือ คู่แข่งมีมาก 
         
International Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดระหว่างประเทศ   ระยะนี้ เป็นการพัฒนามาจาก ระยะ Export Marketing ซึ่งเมื่อทำการส่งออกไปได้ ซักระยะ ธุรกิจอาจจะมีความประสบความสำเร็จ แต่เมื่อไปได้อีกสักพัก ธุรกิจอาจจะค้นพบว่า มีอุปสรรคและ ปัญหาต่างๆ ที่ทำให้การทำธุรกิจระหว่างประเทศ ต้องสะดุด

Multinational Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดนานาชาติ

Global Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาไปสู่จุดที่เรียกว่า ตลาดระดับโล

การพัฒนาธุรกิจและการบริหารความเสี่ยงราคาGross National Product –GNP- คือ ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ   คือ มูลค่าของสินค้า และ บริการ ขั้นสุดท้ายอันเกิดจาก การดำเนินการสร้างมูลค่าของประชาชน หรือ ธุรกิจ ประเทศนั้นๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือ มูลค่า จากทรัพยากรที่ประชาชนประเทศนั้นเป็นเจ้าของ
GNP สามารถคิดได้อีกแบบ หนึ่ง คือ นำผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศบวกกับมูลค่าที่ประชาน หรือ ธุรกิจของประเทศนั้นๆ สามารถสร้างในต่างประเทศแล้วหักออกด้วยรายได้ ของชาวต่างชาติ

Non-Tariff Barriers คือ การกีดกันแบบอื่นๆ คือ การตั้งข้อบังคับอื่นๆ เพื่อกีดกันการนำเข้าสินค้า และ บริการ หรือ ทำให้การนำเข้าเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น เช่น ตั้งมาตรฐานสินค้าและบริการให้สูงมากๆ 


  1.         ข้อมูล www.webcenter.name/Business/.../BusinessPlanning_SMEs_Chapter_52.doc

ความแตกต่างระหว่างการค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศจะพูดถึงการนำเข้าและส่งออกระหว่างประเทศจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งเท่านั้น  ซึ่งต่างจากส่การตลาดระหว่างประเทศ  ซึ่งการตลาดระหว่าประเทศจะพูดถึง การทำธุรกิจตั้งแต่เร่มต้นภายในประเทศและมีการติดต่อสื่อสารทางการตลาดระหว่างประเทศคู่ค้า  จนเกิดการการเติบโตจนมีการส่งออก แล้วมีการพัฒนากาารตลาดจนเป็นตลาดระหว่างประเทศ   สู่ตลาดนาๆชาติและตลาดระดับโลกต่อไป

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ITALIA


ITALIA





ธงชาติอิตาลี















อิตาลี (อิตาลีItalia) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (อิตาลีRepubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8


ตราแผ่นดิน











มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลียเป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
 


ประวัติศาสตร์

ไฟล์:Colosseum in Rome-April 2007-1- copie 2B.jpg
สถาณกีฬาโครอสเซียม สถานที่ท่องเที่ยว
 ยอดนิยมในกรุงโรม


ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคจักรวรรดิโรมัน

คาบสมุทรอิตาลีมีมนุษย์อาศัยตั้งแต่ยุคหินเก่า ดินแดนลุ่มแม่น้ำไทเบอร์เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลตั้งแต่เมื่อประมาณ 5 หมื่นปีที่แล้ว และด้วยอิตาลีนั้นตั้งอยู่บนคาบสมุทรในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งมีอารยธรรมโบราณกล่าวคือ อารยธรรมมิโนอันและไมซีเนียน อารยธรรมที่เกี่ยวพันกับอารยธรรมกรีกโบราณ อิตาลีเป็นประเทศที่มีอารยธรรมมาช้านานและแผ่ขยายดินแดนอื่น ๆ ในทวีปยุโรป
แผ่นดินอิตาลียุคกลางตอยต้น
ในช่วง 1,600 ปีก่อนคริต์ศักราช พวกอีทรัสคัน จากเอเชียไมเนอร์ก็ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่เป็นแคว้นทัสกานีในปัจจุบัน พร้อมกับนำอารยธรรมกรีกเข้ามาเผยแพร่ ส่วนพวกกรีกเองก็ได้เดินทางมาตั้งอาณานิคมชื่อว่า “แมกนากราเซีย” (อิตาลีMagna Graecia) ในตอนใต้ของอิตาลีใน 800 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณตั้งแต่เมืองเนเปิลส์จนถึงเกาะซิซิลี    ใน 27 ปีก่อนคริสต์ศักราช โรมได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสาธารณรัฐเป็นระบอบจักรวรรดิ โดยมีจักรพรรดิออกเตเวียน เป็นจักรพรรดิพระองค์แรก นครหลวงแห่งนี้ได้เจริญถึงขีดสุดและสามารถขยายอำนาจปกครองอิทธิพลไปทั่วทั้งยุโรป และบริเวณรายรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของการค้าและความเจริญในด้านวัฒนธรรมและศิลปวิทยาการแขนงต่างๆ แทนอารยธรรมกรีกที่เสื่อมถอยลง ระหว่างปี ค.ศ. 96 – 180เป็นช่วงระยะเวลาแห่งความเจริญรุ่งเรืองของจักรพรรดิที่ปกครอง 5 พระองค์ แต่หลังจากนั้น โรมต้องประสบปัญหาทั้งในทุก ๆ ด้าน รวมไปถึงการรุกรานของพวกอนารยชน รวมทั้งการเสื่อมโทรมทางศีลธรรมจรรยา ใน ค.ศ. 312 จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงยอมรับคริสต์ศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งมีผลให้คริสต์ศาสนามีโอกาสได้เผยแพร่ไปทั่วดินแดนที่อยู่ใต้อาณัติของโรม และทรงแบ่งจักรวรรดิโรมันออกเป็นสองส่วน คือ จักรวรรดิโรมันตะวันตกและจักรวรรดิไบแซนไทน์ 

ยุคกลาง

ในช่วงต้นของยุคกลาง ดินแดนต่าง ๆ ในยุโรปได้ตกอยู่ในสภาวะระส่ำระส่ายที่บ้านเมืองขาดผู้นำ ระบบการเมือง เศรษฐกิจและสังคมถูกทำลาย แต่ในขณะเดียวกันบิชอบแห่งโรม ก็ได้สามารถสถาปนาอำนาจสูงสุดในคริสตจักรซึ่งต่อมาคือสันตะปาปา และสามารถจัดตั้งรัฐสันตะปาปา อีกทั้งยังเป็นผู้สืบทอดอารยธรรมโรมันที่ยังหลงเหลือให้คงอยู่ต่อไป อย่างไรก็ดี แม้นครรัฐต่าง ๆ ในคาบสมุทรอิตาลีจะขาดเอกภาพทางการเมือง แต่นครรัฐเหล่านั้นยังเป็นศูนย์กลางของความเจริญมั่งคั่งและการฟื้นตัวของศิลปะและวัฒนธรรมของยุโรป


ในกลางคริสต์คริสต์ศตวรรษที่ 14 อิตาลีได้ประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูศิลปวิทยาการของอารยธรรมกรีกและโรมัน โดยเรียกว่า ยุคเรอเนซองส์ และเป็นผู้นำของลัทธิมนุษยนิยม ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปยังตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบศักดินา แต่เมื่อเข้าปลายคริสต์คริสต์ศตวรรษที่ 15 อิตาลีได้ตกเป็นสมรภูมิแย่งชิงอำนาจระหว่างฝรั่งเศส สเปน และออสเตรีย กล่าวคือ เมื่อปี ค.ศ. 1494 พระเจ้าชาร์ลที่ 8 แห่งฝรั่งเศสได้เปิดการโจมตีคาบสมุทร ซึ่งได้ดำเนินเรื่อยมาถึงกลางคริสต์คริสต์ศตวรรษที่ 16 และการโจมตีเพื่อแย่งการเป็นเจ้า ระหว่างฝรั่งเศสและสเปน
ราชอาณาจักรอิตาลี (ค.ศ. 1861-1946)


ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีการชุมนุมของขบวนการชาตินิยม เพื่อต้องการรวมอิตาลีจนเป็นผลสำเร็จ โดยการนำของพระเจ้าวิคเตอร์เอมมานูเอลที่ 2นับแต่นั้นมา อิตาลีจึงอยู่ภายใต้การปกครองระบอบกษัตริย์ เรื่อยมาจนกระทั่งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในอิตาลี เมื่อมีการประกาศยกเลิกความเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จนได้รับสมญานามว่าเป็น 1 ใน 4 มหาอำนาจ (The Big Four) ต่อมาสงครามได้ยุติลงด้วยชัยชนะของสัมพันธมิตร อิตาลีจึงได้ดินแดนบางส่วนของออสเตรียมาครอบครอง
ต่อมาในปี ค.ศ. 1922 ระบบเผด็จการฟาสซิสต์ ถูกนำมาใช้ในประเทศอิตาลีกว่า 20 ปี โดยการนำของเบนิโต มุสโสลินี ถึงแม้ว่าจะมีกษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ก็เป็นเพียงในนามเท่านั้น จนกระทั่งเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง อิตาลีเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรยึดเกาะซิซิลีได้ มุสโสลินีจึงถูกปลดออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งปีเอโตร บาโดลโย ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน และประกาศสงครามกับนาซีเยอรมนี จนได้รับชัยชนะ โดยมุสโสลินีถูกกลุ่มต่อต้านฟาสซิสต์จับกุม และถูกสังหารที่เมืองมิลาน 

สาธารณรัฐอิตาลี

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง สิ้นสุดลง อิตาลียังคงมีพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 เป็นประมุขอยู่ ต่อมาพระองค์สละราชสมบัติให้กับพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 ขึ้นครองราชย์แทน แต่ครองราชย์ได้เพียง 1 เดือนเท่านั้น ประชาชนต่างลงประชามติให้อิตาลีเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบกษัตริย์มาเป็นระบบสาธารณรัฐในระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1946 โดยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. 1948 จนถึงปัจจุบัน


ภูมิศาสตร์


ภาพถ่ายดาวเทียมจากประเทศอิตาลี
ประเทศอิตาลีตั้งอยู่บนคาบสมุทรอิตาลี ถูกล้อมรอบด้วยทะเลในทุกๆ ด้านยกเว้นด้านเหนือ อาณาเขตทางทิศเหนือติดต่อกับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์และออสเตรียโดยมีเทือกเขาแอลป์กั้นแบ่ง โดยในเทือกเขามีภูเขาที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป คือภูเขามอนเตบีอังโก (อิตาลีMonte Bianco) ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศอิตาลี เทือกเขาที่สำคัญอีกแห่งคือ เทือกเขาแอเพนไนน์ (อิตาลีAppennini) พาดผ่านตอนกลางและตอนใต้ของประเทศ มีแม่น้ำที่ยาวที่สุดในอิตาลีคือแม่น้ำโป(Po) และแม่น้ำไทเบอร์ที่ไหลผ่านกรุงโรม อิตาลีมีดินแดนที่ราบลุ่มริมแม่น้ำราว 25 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งประเทศ[4]โดยที่ราบลุ่มแม่น้ำโป ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นบริเวณพื้นที่ราบที่กว้างใหญ่ที่สุด อิตาลีมีเกาะมากมาย แต่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือเกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย สามารถเดินทางได้โดยเรือและเครื่องบิน


ทางตอนเหนือของอิตาลีมีทะเลสาบที่มีขนาดใหญ่มากมาย เช่น ทะเลสาบการ์ดา โกโม มัจโจเร และทะเลสาบอีเซโอ เนื่องจากประเทศอิตาลีถูกล้อมรอบด้วยทะเล ดังนั้นจึงมีชายฝั่งทะเลยาวหลายพันกิโลเมตร ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก และนักท่องเที่ยวก็นิยมเที่ยวสถานที่ทางประวัติศาสตร์ของอิตาลีอีกด้วย ประเทศอิตาลีมีทะเลสาบปล่องภูเขาไฟมากอันดับหนึ่งของโลก เมืองหลวงของประเทศอิตาลีคือกรุงโรม และเมืองสำคัญอื่น ๆ เช่นเมืองมิลาน ตูริน               ฟลอเรนซ์เนเปิลส์ และเวนิส และภายในประเทศอิตาลียังมีประเทศแทรกอยู่ 2 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน
ยอดเขามงบล็อง ภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศอิตาลี
และยุโรปตะวันตก
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของประเทศ คือ ปรอท โพแทช (โพแทสเซียมคาร์บอเนต) หินอ่อน กำมะถัน แก๊สธรรมชาติ น้ำมันดิบ ปลาและถ่านหิน
อิตาลีมีปัญหาด้านสภาพแวดล้อม เช่น มลภาวะเป็นพิษจากอุตสาหกรรมและการสันดาบ ชายฝั่งแม่น้ำเน่าเสียจากอุตสาหกรรม และสารตกค้างจากการเกษตร ฝนกรด การขาดการดูแลบำบัดของเสียจากอุตสาหกรรมอย่างเพียงพอ และปัญหาด้านภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ดินและโคลนถล่ม


การเมืองการกครอง
จอร์โจ  นาโปีตาโน  ประธานาธิบดี
คนปัจจุบันของอิตาลี
การปกครองของประเทศอิตาลีเป็นรูปแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย มีรัฐสภา และใช้ระบบพรรคผสม รัฐสภาของอิตาลีประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ผู้แทนของทั้งสองสภาดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี[6] รัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ส่วนอำนาจนิติบัญญัติควบคุมโดยสภานิติบัญญัติสองสภา ประเทศอิตาลีใช้รูปแบบการปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตยมาตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1946 หลังจากการล้มล้างระบอบราชาธิปไตยโดยการลงประชามติของประชาชน มีรัฐธรรมนูญฉบับแรกประกาศใช้เมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 1948
รัฐสภาอิตาลีประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ประธานรัฐสภา คือ ประธานสภาผู้แทนราษฎร การบัญญัติกฎหมายใดๆ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้ง 2 สภา วาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกทั้ง 2 สภาคือ 5 ปี และการเลือกตั้งจะทำพร้อมกันทั้ง 2 สภา โดยจะมีขึ้นทุก ๆ 5 ปี หรือเร็วกว่านั้นหากประธานาธิบดีไม่อาจสรรหานายกรัฐมนตรีที่สามารถจัดตั้ง คณะรัฐบาลให้ทั้ง 2 สภาให้ความเห็นชอบได้ การเลือกตั้งครั้งสุดท้ายคือเมื่อวันที่ 9 - 10 เมษายน พ.ศ. 2549 (มีการเลือกตั้ง 2 วันโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้คนมาลงคะแนนมากขึ้น) สภาผู้แทนราษฎร (อิตาลีCamera dei Deputati) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 630 คน โดย 475 คนมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และอีก 155 คนมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจากแคว้นต่างๆ ผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งจะต้องมีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป วุฒิสภา (อิตาลีSenato della Repubblica) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 326 คน โดย 315 คนมาจากการเลือกตั้งทั่วไป จากแคว้น ต่างๆ ทั่วประเทศ และมีวุฒิสมาชิกตลอดชีพอีกจำนวนหนึ่ง 

(ปัจจุบันมี 7 คน) ซึ่งจะแต่งตั้งจากบุคคลชั้นนำของสังคม
ซิลวีโอ  แบร์ลุสโกนี
นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของอิตาลี

ประเทศอิตาลีมีประธานาธิบดีคือ จอร์โจ นาโปลีตาโน ซึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2006 และจะสิ้นสุดวาระในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2013 (ประธานาธิบดีของอิตาลีดำรงวาระ 7 ปี) ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 7 แห่งสาธาณรัฐอิตาลี ขึ้นดำรงตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดีการ์โล อาเซลโย ชัมปี อิตาลีมีประธานาธิบดีคนแรกคือ เอนรีโก เด นีโกลา ส่วนนายกรัฐมนตรีในขณะนี้คือ ซิลวีโอ แบร์ลุสโกนี ขึ้นดำรงตำแหน่งในช่วงเดียวกัน
ประเทศอิตาลีเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศแรกทั้งหมด 11 ประเทศที่เข้าร่วมในสหภาพยุโรปในปี ค.ศ. 2002 และอิตาลีก็ได้เปลี่ยนสกุลเงินมาเป็นยูโร ซึ่งก่อนหน้านั้นอิตาลีใช้สกุลเงินลีรา (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1881)
การปกครองส่วนท้องถิ่น อิตาลีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 แคว้น แบ่งเป็นแคว้น 15 แคว้น และแคว้นปกครองตนเอง 5 แคว้น โดยในแต่ละแคว้นจะมีองค์กรการปกครองหลักอยู่ 3 องค์กร คือ
  • คณะมนตรีแคว้น (Regional Council) ทำหน้าที่ตรากฎหมายและระเบียบข้อบังคับในเขตอำนาจ
  • คณะมนตรีกรรมการ (The Junta) ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหาร
  • ประธานคณะกรรมการ (The President of the Junta) ทำหน้าที่คล้ายนายกรัฐมนตรีในเขตอำนาจ แต่ทั้งนี้ ก็จะมีผู้แทนของรัฐบาลคนหนึ่งอยู่ประจำ ณ นครหลวงของแคว้นนั้น ๆ คอยควบคุมดูแลการบริหารของรัฐบาลท้องถิ่นและทำหน้าที่ประสานงานระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นกับรัฐบาลกลาง


การแบ่งเขตการปกครอง
สาธารณรัฐอิตาลีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 แคว้นหรือ เรโจนี (อิตาลีRegioni) และ 5 แคว้นปกครองตนเอง หรือ เรโจนีเอาโตโนเม (อิตาลีRegioni autonome) และแต่ละแคว้นก็จะแบ่งการปกครองออกเป็นจังหวัด (อิตาลีProvince) และแต่ละจังหวัดก็จะแบ่งออกเป็นเทศบาลหรือ โกมูนี (อิตาลีComuni)

เมืองสำคัญ




อันดับเมืองแคว้นประชาก    อันดับ    เมืองแคว้นประชากร
1โรมลาซีโอ2,724,34711    เวนิสเวเนโต270,098
2มิลานลอมบาร์ดี1,295,70512    เวโรนาเวเนโต265,368
3เนเปิลส์กัมปาเนีย963,66113    เมสซีนาซิซิลี243,381
4ตูรินปีเอมอนเต908,82514    แพดัวเวเนโต211,936
5ปาแลร์โมซิซิลี659,43315    ตรีเอสเตฟรีอูลี-เวเนเซียจูเลีย205,341
6เจนัวลิกูเรีย611,17116    ตารันโตปูลยา194,021
7โบโลญญาเอมีเลีย-โรมัญญา374,94417    เบรชชาลอมบาร์ดี190,844
8ฟลอเรนซ์ทัสกานี365,65918    เรจโจกาลาเบรียกาลาเบรีย185,621
9บารีปูลยา320,67719    ปราโตทัสกานี185,091
10กาตาเนียซิซิลี296,46920    ปาร์มาเอมีเลีย-โรมัญญา182,389















เศรษฐกิจ


ในช่วงหลังของทศวรรษ 1980 เศรษฐกิจของอิตาลีจัดอยู่ในเกณฑ์ดี แต่เริ่มประสบปัญหาในทศวรรษต่อมา ทำให้รัฐบาลไม่สามารถควบคุมปัญหาการขาดดุลสาธารณะได้ เดิมอิตาลีเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่หลังจากปี ค.ศ. 1945 ได้เริ่มพัฒนาภาคอุตสาหกรรมจนกระทั่งปัจจุบันมีประชากรเพียงร้อยละ 7 อยู่ในภาคการเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคใต้และมีฐานะยากจนกว่าทางภาคเหนือและกลาง พืชหลักที่เพาะปลูก ได้แก่ ต้นบีต ข้าวสาลี ข้าวโพดมันเทศและองุ่น (อิตาลีใช้องุ่นทำไวน์และเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกด้วย) [5]
ประเทศอิตาลีมีพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะแก่การเกษตรกรรม และมีทรัพยากรธรรมชาติไม่มาก แม้จะมีก๊าซธรรมชาติอยู่บ้าง จึงเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าอาหาร และพลังงาน อิตาลีเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาเกษตรกรรม เป็นอุตสาหกรรมแบบพื้นฐาน และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของโลก โดยรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรสูงไล่เลี่ยกับอังกฤษและฝรั่งเศส อิตาลีมีจุดแข็งในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
อุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศมี รถยนต์ เครื่องจักรกล การก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ เภสัชภัณฑ์ เครื่องไฟฟ้า เครื่องเรือน อุตสาหกรรมทอผ้า เสื้อผ้าแฟชั่น และการท่องเที่ยว อิตาลีเป็นสมาชิกกลุ่มจี 8 และเข้าร่วมสหภาพการเงินของสหภาพยุโรป (EMU) เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1998 แม้ระบบเศรษฐกิจของอิตาลีเป็นระบบทุนนิยม ที่ภาคเอกชนสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างเสรี แต่รัฐบาลยังคงเข้ามามีบทบาทควบคุมกิจกรรมที่สำคัญ เช่น สาธารณูปโภค อุตสาหกรรมพื้นฐาน เป็นต้น ซึ่งได้ก่อประโยชน์ให้แก่ภาครัฐบาลในการสร้างฐานอำนาจ และแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างพรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีความพยายามที่จะลดบทบาทของพรรคการเมือง โดยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการ แต่อิตาลียังมีปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศหลายอย่าง เช่น การขาดดุลงบประมาณในระดับสูง การว่างงาน การขาดแคลนทรัพยากรพลังงานในประเทศ และระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างอิตาลีตอนเหนือ (แคว้นลอมบาร์ดี เอมีเลีย-โรมัญญา และทัสกานี) ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและการค้า และมีกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs อยู่หนาแน่น กับอิตาลีตอนกลางและตอนล่าง รวมทั้งเกาะซิซิลีและ ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม บริเวณที่พัฒนาน้อยกว่านี้มีพื้นที่ประมาณ 40% ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยพื้นที่นี้มีประชากรอาศัยอยู่ถึงร้อยละ 35 ของประชากรทั้งประเทศ และมีอัตราการว่างงานสูงถึงกว่าร้อยละ 20 


ทรัพยากร



รถยนต์เฟียท 500 (Fiat 500) รุ่นใหม่ที่ผลิตขึ้นใน
เมืองโตริโน แคว้นปีเอมอนเต


ในสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 อิตาลีเป็นประเทาที่มีทรัพยากรมากที่สุดและยังมีทรัพยากรจากแหล่งอาณานิคม ทรัพยากรของอิตาลีมี เหล็ก ทองแดง กำมะถันพบมากในซาร์ดิเนียทางตอนใต้ของอิตาลีมีทะเลสาบปล่องภูเขาไฟจำนวนมาก อิตาลียังมีถ่านหิน ดีบุกส่วนเกาะซิซิลีของอิตาลีมีก๊าซธรรมชาติมาก เกาะซาร์ดิเนียมีบีตและโรงงานทำน้ำตาลซึ่งใหญ่ที่สุดในยุโรป[ต้องการอ้างอิง] (น้ำตาลในยุโรปส่วนใหญ่มาจากอิตาลี) อิตาลีปลูกกาแฟมากที่สุดในยุโรป[ต้องการอ้างอิง] เป็นที่มาของคาปูชิโนและเอสเปรสโซทั้งสองมีต้นกำเนิดที่อิตาลี ทางตอนเหนือของอิตาลีนิยมปลูกองุ่นที่ใช้ทำไวน์ อิตาลีเป็นประเทศที่ค้าไวน์รายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก

การคมนาคม

ประเทศอิตาลีมีถนนความยาวทั้งหมด 487,700 กิโลเมตร เชื่อมต่อ 13 ประเทศรอบอิตาลี มีสนามบินทั้งหมด 132 แห่ง โดยที่เป็นศูนย์กลางการบิน 2 แห่ง คือ สนามบินนานาชาติเลโอนาร์โด ดา วินชี ในกรุงโรม และสนามบินนานาชาติมัลเปนซา ในมิลาน มีสายการบินสู่ประเทศ 44 ประเทศ (ค.ศ. 2008) มีทางรถไฟความยาวทั้งหมด 19,460 กิโลเมตร เชื่อมต่อ 16 ประเทศ

ประชากรและวัฒนธรรม




ประชากร







ย่านลิตเติ้ลอิตาลี ในนครนิวยอร์ก เป็นย่านที่มี
ชาวอิตาลีอยู่เป็นจำนวนมาก


ประชาชนที่อยู่ในประเทศอิตาลีเรียกว่า ชาวอิตาเลียน ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากคนในสมัยโรมันโบราณ จำนวนประชากรของประเทศอิตาลีมีประมาณ 60 ล้าน โดยประมาณ 2.5 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโรม และอีก 1.5 ล้านคนอยู่ในมิลาน ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก มีภาษาทางการคือภาษาอิตาลี และบางพื้นที่ในประเทศเยอรมนีและฝรั่งเศสก็พูดด้วย แต่จะเป็นภาษาซิซิลี และภาษาซาร์ดีเนีย ซึ่งคล้ายกับภาษาอิตาลีแต่ต่างกันที่สำเนียงเท่านั้น
ประชากรส่วนใหญ่ในอิตาลีมีเชื้อชาติอิตาลีถึง 94.2% ของประชากรทั้งประเทศ และอื่นๆอีก เช่น อัลบาเนีย ยูเครน โรมาเนีย 1.94% แอฟริกัน 1.34% เอเชีย 0.92% อเมริกาใต้ 0.46% และอื่นๆ 1.14%
ประเทศอิตาลีมีสถานที่ที่เป็นแหล่งมรดกโลกอยู่มากกว่าประเทศอื่นในโลก  ซึ่งมีทั้งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและมรดกโลกทางธรรมชาติที่มีคุณค่าอย่างมาก ประมาณ 60% ของงานจิตรกรรมทั้งหมดในโลกสรรค์สร้างขึ้นในประเทศอิตาลี และประเทศนี้ยังผลิตไวน์ที่มากกว่าประเทศอื่นอีกด้ว

















ศาสนา

มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในนครรัฐวาติกัน


ศาสนาที่ผู้คนส่วนใหญ่ในอิตาลีนับถือคือ คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ชาวอิตาลีถึง 87.8% เป็นโรมันคาทอลิกโดยพฤตินัย แม้ว่ามีเพียงประมาณหนึ่งในสามที่มีเหตุผลในการเลือกนับถือศาสนาคริสต์ (36.8%) ส่วนคริสต์นิกายออร์โธด็อกซ์มีผู้นับถือมากกว่า 700,000 คน ประกอบด้วยกรีกออร์โทดอกซ์ 180,000 คนและอีก 550,000 คนนับถือนิกายเพ็นเทคอสและอิแวนเจลิคัล (0.8%) ส่วนสมาชิกของนิกายแห่งพระเจ้ามีประมาณ 400,000 คน กลุ่มพยานพระยะโฮวา 235,685 คน (0.4%)  นิกายวัลเดนเชียนส์ 30,000 คน[15] นิกายการกำเนิดแห่งวันที่ 7 มีประมาณ 22,000 คน นิกายมอรมอน 22,000 คน นิกายแบ็พทิสต์ 15,000 คน นิกายลูเธอรัน 7,000 คน และนิกายเมธอดิสต์ 4,000 คน ส่วนศาสนาชนกลุ่มน้อยที่เก่าแก่ที่สุดคือศาสนายูดาย มีคนนับถือ 45,000 คน ประเทศอิตาลีมีกลุ่มศาสนาที่ไม่ใช่ศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ไม่ค่อยมากนัก เช่นการอพยพเข้ามาของประชากรจากส่วนอื่นๆ ของโลก เป็นผลทำให้อิตาลีมีมุสลิมอาศัยอยู่ประมาณ 825,000 คน (1.4% ของประชากรทั้งประเทศ) แต่เป็นพลเมืองอิตาลีเพียง 50,000 คน นอกจากนี้ อิตาลีมีชาวพุทธ 50,000 คน โดยที่ศาสนาพุทธ รัฐบาลอิตาลี ได้รับรองสถานะของสมาคมชาวพุทธในอิตาลี เมื่อ 20 มีนาคม พ.ศ. 2543 และมีวัดไทยสำคัญคือ วัดสันตจิตตาราม อยู่ห่างจากกรุงโรม 52 กิโลเมตรซิกข์ 70,000 คน และชาวฮินดู 70,000 คน

การศึกษา



การศึกษาในอิตาลี แบ่งเป็นประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยมศึกษา ใช้เวลาเรียน 13 ปี (ใช้ระบบ 5-3-5) และระดับอุดมศึกษาซึ่งค่อนข้างยุ่งยากและมีความแตกต่างจากระบบการศึกษาในประเทศอื่น การแบ่งวุฒิการศึกษาจากระดับต่างๆ ในขั้นสูง แบ่งได้ 4 ระดับ[6]ได้แก่
  1. ระดับเทียบเท่าปริญญาตรี (Diploma Universitario)
  2. ระดับเทียบเท่าปริญญาโท (Laurea Speciallstica)
  3. ระดับเทียบเท่าสูงกว่าปริญญาโท (Laurea Specializzazione)
  4. ระดับเทียบเท่าปริญญาเอก (Dottorato di Ricerca)



เทศกาลสำคัญ



  • เทศกาลทางศาสนา เช่น เทศกาลอีสเตอร์ ประกอบด้วยการเดินขบวนกู๊ดฟรายเดย์หรือเรียกว่าวันอาทิตย์อีสเตอร์ จัดขึ้นในช่วงรอยต่อระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายน ภายในเทศกาลจะมีการเฉลิมฉลอง พระสันตะปาปาจะมีกระแสรับสั่งถึงคริสตศาสนิกชนในวันอาทิตย์อีสเตอร์ ซึ่งจัดขึ้นที่นครรัฐวาติกัน
  • เทศกาลศิลปะและดนตรี (อิตาลีMaggio Musicale Fiorentino) จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ที่เมืองฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี
  • เทศกาลโอเปร่า ที่เมืองเวโรนา แคว้นเวเนโต
  • เทศกาลลดราคาสินค้าประจำปี จัดขึ้นทั่วประเทศในช่วงเดือนกรกฎาคม และเดือนต่อมาก็จะเป็นช่วงแห่งการพักร้อน ร้านค้าและกิจการในเมืองจะปิด และผู้คนจะไปพักร้อนตามทะเล
  • เทศกาลฉลองฤดูกาลเก็บเกี่ยวองุ่นที่ใช้ทำไวน์
  • เทศกาลภาพยนตร์ จัดที่เมืองฟลอเรนซ์ ในเดือนพฤศจิกายน
  • พิธีมิสซา (ศีลมหาสนิท) ตามโบสถ์ต่างๆ และในคืนวันที่ 24 ธันวาคม สมเด็จพระสันตะปาปาจะเสด็จออกจากบนพระระเบียงมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์นครรัฐวาติกัน











ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
































ไทยและอิตาลีได้ลงนามสนธิสัญญาฉบับแรกคือ สนธิสัญญาว่าด้วยมิตรภาพ การพาณิชย์ และการเดินเรือ (Treaty of Friendship, Commerce and Navigation) ซึ่งได้ลงนามเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1868 ต่อมาอิตาลีได้แต่งตั้งกงสุลอิตาลีประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2429








































ความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-อิตาลีโดยทั่วไปดำเนินไปอย่างราบรื่น ทั้งสองฝ่ายไม่มีปัญหาขัดแย้งที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน นอกจากนั้น ยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือนทั้งในระดับพระราชวงศ์ บุคคลสำ









































ด้านการทูต

ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิตาลีมา ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) โดย




















คัญ และเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลทั้งสองประเทศอย่างสม่ำเสมอ

ไทยมีสถานเอกอัครราชทูตไทยประเทศอิตาลีที่กรุงโรม และมีสถานกงสุลใหญ่ประจำประเทศไทย 5 แห่ง คือ ที่เมืองตูริน เจโนวา มิลาน นาโปลี และคาตาเนีย และที่มีสถานเอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทยที่กรุงเทพ

การค้าและเศรษฐกิจ

ในปี พ.ศ. 2549 ประเทศอิตาลีเป็นคู่ค้าของไทยอันดับที่ 4 ในสหภาพยุโรป และอันดับที่ 21 ในโลก โดยมีมูลค่าการค้ารวม 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 9.2 ของการค้ารวมของไทย เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2548 ร้อยละ 0.24 โดยไทยส่งออก 1.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 1.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนการลงทุน ในปี พ.ศ. 2549 การลงทุนของอิตาลีในไทย มีมูลค่ารวม 481.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 จากปี พ.ศ. 2548 โดยเป็นด้านแร่ธาตุและเซรามิค 1 โครงการ อุตสาหกรรมเบาและเส้นใย 2 โครงการ ผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร 3 โครงการ ด้านเคมีภัณฑ์และกระดาษ 1 โครงการและด้านบริการ 2 โครงการ
สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ รถยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา ปลาหมึกสดแช่เย็น เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ อัญมณีและเครื่องประดับ ผ้าผืน เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์ เป็นต้น
สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์โลหะ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ การทดสอบ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด เป็นต้น

การท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยวอิตาลีมาท่องที่ยวที่ประเทศไทยประมาณ 130,000 คนต่อปี โดยมีจำนวนมากน้อยตามสภาวะเศรษฐกิจของอิตาลีและยุโรป ในขณะที่นักท่องเที่ยวไทยไปอิตาลีปีละประมาณ 12,350 คน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี และสายการบินไทยมีเส้นทางการบินจากกรุงเทพสู่มิลาน สัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน จากเดิมมีเพียงการบินจากโรมเข้าสู่กรุงเทพทั้งสิ้น 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์