ราคาประมูล ตลาดกลางยางพาราสงขลา |
ยางแผ่นดิบ | 119.20 | | 1.10 |
ยางแผ่นรมควันชั้น3 | | | 1.17 |
น้ำยางสด | | | 2.00 |
ราคายางแผ่นดิบและยางแผ่นรมควันตลาดกลางยางพาราสงขลาปรับตัวสูงขึ้น ยางแผ่นดิบแตะระดับ 119.20 บาท/กก. ปรับตัวสูงขึ้น 1.10 บาท/กก. และยางแผ่นรมควันแตะระดับ 124.30 บาท/กก. ปรับตัวสูงขึ้น 1.17 บาท/กก. เป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียวที่ปรับตัวสูงขึ้นตามการอ่อนค่าของเงินเยน และนักลงทุนคลายความกังวลในปัญหาหนี้สาธารณะของไอร์แลนด์ที่จะได้รับความ ช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป (EU.) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบสัปดาห์ นอกจากนี้ราคายางยังคงมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคใต้แหล่งปลูกยางสำคัญ ต้นยางได้รับความเสียหายจากการโค่นล้มและภาวะน้ำท่วมขัง ส่งผลให้อุปทานยางที่มีอย่างจำกัดกลับยิ่งลดน้อยลงอีก
อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง
อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อประเทศทั้งในแง่ของการจ้างงานและการส่งออก โดยในปี 2544 ประเทศไทยสามารถส่งออกยางพาราอยู่ในอันดับที่ 3 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรของไทยมีมูลค่าการส่งออกของยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางรวมทั้งสิ้น 2,421.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแบ่งเป็นมูลค่ายางพาราร้อยละ 54.8 และผลิตภัณฑ์ยางร้อยละ 45.2
1. การผลิต
ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลกหรือประมาณร้อยละ 34.5 ของผลผลิตโลกโดยในปี 2544 มีการผลิตประมาณ 2.3 ล้านตัน ยางธรรมชาติส่วนใหญ่มีการส่งออกร้อยละ 90 และส่วนที่เหลือเป็นการจำหน่ายในประเทศ
ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมรวบรวมโดยธนาคารแห่งประเทศไทยแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวลดลงของดัชนีผลผลิตยางรถยนต์ในไตรมาสที่ 4 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยผลผลิตรายไตรมาสลดลงจาก123.66 ใน ไตรมาสที่แล้วเป็น 116.73 โดยดัชนีผลผลิตยางรถยนต์ในเดือน ธ.ค. ได้ปรับตัวลดลงจากเดือนที่ผ่านมา
การขยายตัวของการผลิตยางรถยนต์ ส่วนหนึ่งมาจากนักลงทุนต่างชาติได้เข้ามาลงทุนในธุรกิจยางล้อตั้งแต่ปี 2543 เพื่อขยายฐานการผลิตในไทยตามนโยบายของกลุ่มผู้ผลิตยางล้อรายใหญ่ของโลกที่ให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า และเป็นแหล่งวัตถุดิบที่มี ศักยภาพ
2. การส่งออกและนำเข้า
2.1 ตลาดส่งออก ประเภทสินค้าที่ผลิตและส่งออกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1) ยางแปรรูปขั้นต้น ประกอบด้วย ยางแผ่น ยางแท่ง ยางเครพ น้ำยางข้น โดยมีมูลค่าการส่งออกในปี 2544 จำนวน 1,325.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 13 ส่วนการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ของปี 2544 เทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2543 พบว่า มีอัตราการขยายตัวที่ลดลงร้อยละ 23.6 ในตลาดส่งออกสำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา และ มาเลเซีย
2) ผลิตภัณฑ์ยาง ประกอบด้วย ยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ยางรัดของ หลอดและท่อ สายพานลำเลียงและส่งกำลัง โดยมีมูลค่าการส่งออกในปี 2544 จำนวน 1,095.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และฮ่องกง
2.2 ตลาดนำเข้า ประเภทผลิตภัณฑ์ยางที่นำเข้า ได้แก่ ท่อหรือข้อต่อ และ สายพานลำเลียง และ ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ โดยในปี 2544 มีมูลค่าการนำเข้าจำนวน 303 ล้านเหรียญสหรัฐ และหากเปรียบเทียบในช่วงปี 2543 ลดลงร้อยละ 4.11 ทั้งนี้ประเภทผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการขยายตัวของการนำเข้าต่อเนื่อง ได้แก่ ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง
การส่งออกยางธรรมชาติในปี 2544 มูลค่า 1,326 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 13 ในขณะที่ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน แสดงว่าราคายางธรรมชาติในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง สัดส่วนมูลค่าการส่งออกยางแผ่น ยางแท่ง น้ำยางข้น คิดเป็นร้อยละ 44.2, 35.9, และ 19.8 ตามลำดับ
การส่งออกผลิตภัณฑ์ยางในปี 2544
มีมูลค่า 1,095
ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.2
โดยผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ยางยานพาหนะ และ ถุงมือยางซึ่งคิดเป็นร้อยละ 34.9
และร้อยละ 32.0
ของมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง สำหรับตลาดส่งออก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฮ่องกง เยอรมัน และ มาเลเซีย โดยมีอัตราการส่งออกยางยานพาหนะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9
เมื่อเทียบกับปี 2543
และในไตรมาสที่ 4
ของปี 2544
เทียบกับไตรมาสที่ 4
ของปี 2543
มีการส่งออกยางยานพาหนะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18.2
สำหรับอัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกถุงมือยางในปี 2544
เทียบกับปี 2543
ในช่วงไตรมาสที่ 4
ลดลงร้อยละ 3.4
3. แนวโน้มปี 2545
ด้านการผลิตคาดว่าจะมีการผลิตเพิ่มขึ้นในส่วนของยางพารา ประมาณ 2.4 ล้านตัน เนื่องจากยางพันธุ์ดีที่ปลูกทดแทนและปลูกใหม่ทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากแรงสนับสนุนของภาครัฐให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยปลูกยางมากขึ้น ในด้านการขยายพื้นที่เพาะปลูกและปรับปรุงคุณภาพยาง มีการผลิตผลิตภัณฑ์ยางประเภทยางยานพาหนะและถุงมือยางเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในตลาดหลักซึ่งได้แก่ประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เนื่องจากการก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกาจะเป็นตัวกระตุ้นความต้องการเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีส่วนทำให้ภาคการผลิตโดยรวมไม่ชะลอตัวถึงแม้ว่าต้นทุนการผลิตจะเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับเนื้อที่ยางที่กรีดได้และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด เหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้ทิศทางการผลิตมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างวันที่ 11-12
ธันวาคม 2544
ได้มีการประชุมระดับรัฐมนตรี 3
ประเทศระหว่างผู้ผลิตยางธรรมชาติหลัก เพื่อหาข้อสรุปของโปรแกรมการปฏิบัติงานเพื่อรักษาราคายาง ซึ่ง มาตรการจัดการด้านปริมาณการผลิตจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1
มกราคม 2546
โดยไทยต้องลดปริมาณการผลิตยางในปี 2545
ลง 72,036
ตัน หรือร้อยละ 3.3
โดยการเพิ่มพื้นที่ปลูกพืชชนิดอื่นแทนยาง 200,000
ไร่ และมาตรการกำหนดปริมาณการส่งออกยาง ซึ่งได้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1
มกราคม 2545
โดยในปี 2545
มีการกำหนดให้ไทยส่งออกยางได้ในปริมาณ 1,973
ล้านตัน ปริมาณยางที่นอกเหนือจากนี้ ผู้ส่งออกจะต้องจัดเก็บสต๊อกเพื่อเป็นการผลักดันให้ราคาสูงขึ้น โดยรัฐจะจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (1%)
ในการจัดเก็บสต๊อกและจัดหาโกดัง ซึ่งสต๊อกยางธรรมชาติดังกล่าวคาดว่าจะเป็นสัดส่วนร้อยละ 20
ของปริมาณบริโภคทั่วโลกหรือขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจ แต่ทั้งนี้คาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ผลิตยาง เนื่องจากประเทศไทยกำลังดำเนินนโยบายไม่เพิ่มพื้นที่ปลูกยาง และรัฐมีแผนจะโค่นยางปีละ 4
แสนไร่ พร้อมทั้งส่งเสริมการปลูกพืชอื่นทดแทนและให้สงเคราะห์ยางพันธุ์ใหม่ สำหรับราคายางภายในประเทศในช่วงไตรมาสแรกของปี 2545 คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลง ถึงแม้อุปสงค์ของยางและผลิตภัณฑ์ของโลกจะอยู่ในระดับสูง แต่ประเทศผู้ใช้ยางมีสต๊อกยางคงเหลืออยู่ในประเทศมาก ขณะนี้ภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนให้หน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจใช้ผลิตภัณฑ์ยางที่ผลิตในประเทศและให้มีการใช้ยางในประเทศเพิ่มมากขึ้น
ในปี 2544 ยางพารามีมูลค่าการส่งออก 1,326 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 2543 ประมาณร้อยละ 13.0 อย่างไรก็ตาม คาดว่าแนวโน้มมูลค่าการส่งออกยางพาราในปี 2545 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.1 โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกยางแท่งจะขยายตัวสูงขึ้น ประมาณร้อยละ 17.3 เนื่องจากปัจจุบันยางแท่งเป็นที่นิยมในตลาดโลกมากขึ้น ในขณะที่มูลค่าการส่งออกยางแผ่นคาดว่าจะลดลงประมาณร้อยละ 7.1 สำหรับน้ำยางข้นคาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 9.1 เพื่อนำมาผลิตถุงมือยางเนื่องจากปัจจุบันประชากรโลกมีความห่วงใยเรื่องสุขอนามัยมากขึ้น ทำให้การใช้ถุงมือยางของโลกเพิ่มสูงขึ้น
สำหรับผลิตภัณฑ์ยางไทยสามารถส่งออกในปี 2544 ด้วยมูลค่า 1,095 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2543 ประมาณร้อยละ 3.3 ซึ่งคาดว่าแนวโน้มการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางในปี 2545 จะสูงขึ้นร้อยละ 8.5 เนื่องจากคาดว่ามูลค่าการส่งออกยางยานพาหนะและถุงมือยางจะขยายตัวประมาณร้อยละ 5.8 และ 5.3 ตามลำดับ
ผลผลิต ความต้องการใช้ในประเทศ และส่งออกตามแผน 5 ปี (ปี 2545-2549)
รายการ | 2545 | 2546 | 2547 | 2548 | 2549 |
ผลผลิตต่อไร่(ก.ก.) ผลผลิตยางดิบ(ล้านตัน) ความต้องการใช้(ล้านตัน) ส่งออก(ล้านตัน) ส่วนเกิน(ล้านตัน) | 255 2.52 0.25 2.15 0.12 | 257 2.46 0.30 2.00 0.16 | 260 2.45 0.36 2.00 0.09 | 265 2.42 0.43 1.99 - | 265 2.40 0.52 1.88 - |
ประมาณการโดยสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ปัญหาและอุปสรรค
· ขาดความสามารถพื้นฐานที่จะแข่งขันได้ในระดับสากล เช่น ด้านเทคโนโลยีการผลิต การบริหาร
จัดการ การตลาด บุคลากร และการพัฒนาผลิตภัณฑ์
· อัตราภาษีวัตถุดิบยังสูงกว่าประเทศคู่แข่ง
· นโยบายการส่งเสริมการลงทุนไม่เอื้ออำนวยต่อผู้ประกอบการภายในประเทศ
· ขาดอุตสาหกรรมสนับสนุนที่เข้มแข็ง เช่น การผลิตแม่พิมพ์ เครื่องจักร
· ขาดการวิจัยและพัฒนา คุณภาพผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ใหม่ และกระบวนการผลิต
· ขาดหน่วยงานสนับสนุนทางเทคนิคที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้บริการวิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบและ ผลิตภัณฑ์ การออกใบรับรองมาตรฐานและคุณภาพ
แนวทางการพัฒนา
· รัฐบาลควรมีนโยบายในการกำหนดให้อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็น Rubber Capital City of the World โดยการนำยาง
ธรรมชาติมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
· รัฐบาลควรผลักดันให้มีการวิจัย และ พัฒนาน้ำยาง มาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาง ห้องทดสอบยางล้อ และห้องปฏิบัติการถุงมือยางที่เชื่อถือได้
· รัฐบาลควรมีการพัฒนาบุคลากรด้านยางให้มากขึ้น
ที่มา:http://ethaitrade.com
http://www.ryt9.com/s/ryt9/74229